ออกญาโกษาธิบดี (จีน)

ออกญาโกษาธิบดี (จีน) (?–2276) เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เป็นขุนนางคนสำคัญในตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือถึงสมเด็จพระเจ้าท้ายสระเมื่อสมเด็จพระเจ้าท้ายสระขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ พระองค์มอบงานราชการบ้านเมืองส่วนใหญ่ให้ออกญาโกษาธิบดีเป็นคนจัดการ ออกญาโกษาธิบดีจึงใช้เส้นสายของตนแต่งตั้งคนจีนให้รับราชการในตำแหน่งที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการค้า[1]ในปี 2260 ได้รับพระราชโองการเป็นแม่ทัพเรือเดินทางไปตีเมืองพุทไธมาศของกัมพูชา ที่กำลังเกิดความวุ่นวายขึ้น พร้อมกับออกญาจักรีบ้านโรงฆ้องที่เป็นแม่ทัพบก แต่ด้วยไม่ชำนาญการศึกสงคราม ออกญาโกษาธิบดีจึงถูกกองทัพญวนและเขมรตีแตกพ่ายกลับมา พระเจ้าท้ายสระลงโทษเพียงแค่ให้ชดใช้อาวุธปืน กระสุนปืน และดินประสิวเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงอำนาจ บารมี อิทธิพล และการเป็นที่โปรดปรานของออกญาโกษาธิบดี ส่วนออกญาจักรีบ้านโรงฆ้องได้รับชัยชนะอย่างสวยงามในปี 2262 ออกญาโกษาธิบดีได้รับพระราชทานเลื่อนยศบรรดาศักดิ์ตามหนังสือที่ส่งถึงผู้สำเร็จราชการเมืองปัตตาเวียได้ระบุบรรดาศักดิ์ของตนเองว่า "เจ้าพระยาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอภัยพิริยบรากรมภาหุ เจ้าพระยาพระคลัง"ต่อมาในปี 2264 พระเจ้าท้ายสระมีรับสั่งให้ออกญาโกษาธิบดีต่อเรือกำปั่นทอดสมออยู่ ณ วัดมเหยงคณ์ โดยใช้เวลา 5 เดือนจึงแล้วเสร็จเพื่อบรรทุกช้างส่งไปขายที่อินเดียตามความในพระราชพงศาวดารว่าทรงพระกรุณาตรัสสั่งโกษาธิบดีให้ต่อกำปั่น 3 หน้า ปากกว้าง 6 วา แล้วทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้ติดสมอ ณ วัดมเหยงคณ์ต่อกำปั่น 5 เดือนเศษจึ่งสำเร็จแล้ว ๆ ให้ใช้ใบออกไปณเมืองมฤท แล้วให้ประทุกช้างออกไปจำหน่าย ณ เมืองเทศ 40 ช้างเมื่อสมเด็จพระเจ้าท้ายสระเสด็จสวรรคตในเดือนมกราคม 2275 ออกญาโกษาธิบดีได้สนับสนุนเจ้าฟ้าอภัย พระราชโอรสองค์รองของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระในสงครามกลางเมือง เมื่อเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์ พระอนุชาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ถูกจับสำเร็จโทษ ออกญาโกษาธิบดีจึงหนีราชภัยไปบวชแต่ก็ถูกจับสังหารคาผ้าเหลืองเนื่องจากไม่ยอมสึก[2]

ออกญาโกษาธิบดี (จีน)

ใกล้เคียง